“กกพ.” รับฟังความเห็น 3 กรณีสะท้อนต้นทุนเอฟทีรอบ ม.ค. - เม.ย. 67และภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. 95,777 ล้านบาท ณ. ปลาย ส.ค. 66

 

 

จากสถานการณ์ราคา LNG ในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงในช่วงกลางปี 66 ส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าจริงที่เกิดขึ้นในรอบเอฟทีงวด พ.. – ส.ค. 66 มีค่าต่ำกว่าประมาณการ ประกอบกับมีเงินส่งคืนส่วนต่างราคาก๊าซจากการดำเนินการตามมติ กพช. ในวันที่ 25 พ.ย. 65 ที่กำหนดให้ ปตท. ต้องคิดค่าก๊าซในรอบ ม.ค - เม.ย. 66 ตามราคาประมาณการ ซึ่งทำให้มีเงินค่าต้นทุนส่วนเกินก๊าซนำมาคืนเป็นส่วนลดค่าก๊าซในรอบ พ.ค. - ส.ค. 66 เพิ่มเติม ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริงในรอบ พ.ค. - ส.ค. 66 มีค่าต่ำกว่าประมาณการ และทำให้ กฟผ. มีภาระต้นทุนคงค้างลดลงเหลือ 95,777 ล้านบาทในปลายเดือนสิงหาคม 66  แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันสถานการณ์ราคา LNG ในตลาดโลกอยู่ในช่วงขาขึ้นตามความต้องการใช้ LNG ที่เพิ่มมากขึ้นตามสภาพฤดูหนาวในยุโรปและส่งผลให้การประมาณการต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในรอบ ม.ค.- เม.ย. 67 เพิ่มขึ้นเป็น 64.18 สตางค์ต่อหน่วยซึ่งสะท้อนปริมาณการนำเข้า LNG เพื่อชดเชยก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย

               นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 50/2566 (ครั้งที่ 878) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 มีมติรับทราบภาระต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจริงประจำรอบเดือน พ.ค. - ส.ค. 2566 และเห็นชอบผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 พร้อมให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปรับฟังความคิดเห็นในกรณีต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 10 – 24 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้ 

กรณีที่ 1 (จ่ายคืนภาระต้นทุนค้างทั้งหมด) แบ่งเป็นเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน ม.ค. - เม.ย. 67 จำนวน 64.18 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชำระภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. จำนวน 95,777 ล้านบาทในงวดเดียว รวมเท่ากับ 216.42 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วยแล้วทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.95 บาทต่อหน่วย
ตามรายงานการคำนวณตามสูตรเอฟที

กรณีที่ 2 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 1 ปี) แบ่งเป็นเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 จำนวน 64.18 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อทยอยชำระภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. จำนวน 95,777 ล้านบาทโดยแบ่งเป็น 3 งวดๆ ละจำนวน 31,926 ล้านบาท รวมเท่ากับ 114.93 สตางค์ต่อหน่วยสำหรับเดือน ม.ค. – เม.ย. 2567 เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้า
(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มขึ้นเป็น 4.93 บาทต่อหน่วย

กรณีที่ 3 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 2 ปี) แบ่งเป็นเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 จำนวน 64.18 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อทยอยชำระภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. จำนวน 95,777 ล้านบาทโดยแบ่งเป็น 6 งวดๆ ละจำนวน 15,963 ล้านบาท รวมเท่ากับ 89.55 สตางค์ต่อหน่วยสำหรับเดือน ม.ค. – เม.ย. 2567 เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้า
(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มขึ้นเป็น 4.
68 บาทต่อหน่วย

นายคมกฤช กล่าวว่า สำหรับผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ทั้ง 3 กรณีที่กล่าวข้างต้นนั้นเป็นไปตามการประมาณการต้นทุนเชื้อเพลิงโดย ปตท. และ กฟผ. นำค่าประมาณการดังกล่าวมาคำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้า (ภายใต้โครงสร้างราคาก๊าซในปัจจุบัน)

 



ซึ่งสำนักงาน กกพ. ได้จัดทำสรุปสมมุติฐานที่ใช้การประมาณการค่าเอฟทีในรอบคำนวณเดือน ก.ย. - ธ.ค. 256
6 เทียบกับการคำนวณในปีฐาน พ.ค. – ส.ค. 2558 และรอบประมาณการค่าเอฟทีเดือน ม.ค. – เม.ย. 2567
โดยมีรายละเอียดตามในตารางดังนี้ 

 

               สมมุติฐาน

หน่วย

พ.ค. - ส.ค. 58

(ค่าไฟฟ้าฐาน)

[1]

ก.ย. – ธ.ค. 66

 (ประมาณการ*)

[2]

ม.ค. - เม.ย. 67

(ประมาณการ)

[3]

เปลี่ยนแปลง

[3]-[2]

- ราคา Pool Gas

บาท/ล้านบีทียู

264

มติ กกพ. 26 ก.ค. 66

323

มติ ครม. 18 ก.ย. 66

305*

387

+64

(+20%)

+82 (+27%)

   อ้างอิงน้ำมันดิบดูไบ

USD/บาเรล

 

74.9 USD/บาเรล

93.3 USD/บาเรล

+18.4 USD/บาเรล

- ราคาน้ำมันเตา

บาท/ลิตร

15.20

21.56

23.09

+1.53

(+7%)

- ราคาน้ำมันดีเซล

บาท/ลิตร

25.86

25.93

26.65

+0.72

(+3%)

- ราคาลิกไนต์ (กฟผ.)

บาท/ตัน

569.70

820.00

820.00

0

(0%)

- ราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ย (IPPs)

บาท/ตัน

2,825.70

3,018.99*

4,826.56

+1,807.57

(+60%)

สัดส่วนก๊าซธรรมชาติใน Pool Gas

-    อ่าวไทย

-    เมียนมา

-    LNG

พันล้านบีทียู/วัน

-

-

-

-

3,507

1,532

545

1,430

3,634

1,510

511

1,613

127 (+4%)

-22 (-1%)

-34 (-6%)

183(+13%)

การใช้น้ำมันในการผลิตไฟฟ้า

ล้านลิตร/เดือน

ไม่อยู่ในแผน

ตามความจำเป็น

ตามความจำเป็น

-

ราคา Spot LNG

USD/ล้านบีทียู

-

14.15

16.91

+2.76 (+20%)

อัตราแลกเปลี่ยน

บาท/USD

33.05

34.24

35.83

+1.59 (+5%)

               

หมายเหตุ: * ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 ที่ให้คิดราคาก๊าซควบคุมที่ 304.79 บาทต่อล้านบีทียู

**ราคาถ่านหินโรงไฟฟ้าบีแอลซีพีไม่รวมโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน เนื่องจากไม่มีการเดินเครื่อง

 

นายคมกฤช ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติในอ่าวยังอยู่ระหว่างปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 200-400 ล้านลูกบากฟุตต่อวันเป็น 800 ล้านลูกบากฟุตต่อวันในเดือน เม.ย. 2567 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำเข้า LNG เพื่อชดเชยก๊าซในอ่าวไทย ซึ่งหากมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้องนำเข้า LNG เพิ่มมากขึ้นอีกตามลำดับ นอกจากนี้ สถานการณ์สงครามรัสเซียยูเครนที่ยังยืดเยื้อประกอบกับสงครามอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมันดิบดูไบ และราคา LNG มีความผันผวนสูงจึงมีความเสี่ยงที่ต้นทุน
ค่าไฟฟ้าในรอบเดือน ก.ย.
ธ.ค. 2566 และ ม.ค. - เม.ย. 2567 เปลี่ยนแปลงไปจากประมาณการ อย่างไรก็ตาม กกพ. จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการต้นทุนค่าเชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสม มีความมั่นคง และเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์ต่างๆที่อาจเปลี่ยนแปลงไป  นอกจากนี้ สำนักงาน กกพ. ยังคงเรียกร้องให้ประชาชนช่วยกันประหยัดการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดการนำเข้า LNG และลดความผันผวนของราคาพลังงาน

ทั้งนี้ กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 10 – 24 พฤศจิกายน 2566 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

Visitors: 14,181,928