เอไอเอ ประเทศไทย จัดงาน AIA Nobel Laureates Luncheon Talk Series ในหัวข้อ “Personalized Medicine Revolution: Are We Going to Cure All Diseases and at What Price?” โดย ศาสตราจารย์อารอน ชีชาโนเวอร์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี 2547

 

 

เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมมือกับ International Peace Foundation จัดงาน AIA Nobel Laureates Luncheon Talk Series ในหัวข้อ “Personalized Medicine Revolution:Are We Going to Cure All Diseases and at What Price?” โดย ศาสตราจารย์อารอนชีชาโนเวอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอิสราเอล เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี 2547 จากผลงานการศึกษาการทำงานของ ยูบิควิติน(Ubiquitin) โปรตีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลไลการควบคุมวงจรการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลง และการตายของเซลล์ โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมการเกิดโรคมะเร็ง ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของยาและการรักษาโรคต่าง ๆ โดยการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ นับเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ระดับโลก เพื่อต่อยอดสู่การวางแผนด้านสุขภาพที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแคมเปญ ‘Living to 100’ ที่เอไอเอมุ่งมั่นสนับสนุนให้คนไทยเริ่มต้นวางแผนสุขภาพและการเงินอย่างรอบด้าน เพื่อพร้อมสู่การมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives– เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น

 

 

ในงานได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิในหลากหลายสาขาเข้าร่วมงาน อาทิ นายอูเว โมราเวทซ์ ประธานคณะกรรมการ International Peace Foundationดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ดร. วิกรม คุ้มไพโรจน์ ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารจากโรงพยาบาลชั้นนำ ร่วมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทเอไอเอ นำโดย นายการ์ธ โจนส์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน นายตัน ฮาค เลห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับภูมิภาค และ ดร. เคลวิน โลห์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเฮลธ์แคร์ และ ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี กรรมการอิสระ กลุ่มบริษัทเอไอเอ และประธานที่ปรึกษากรรมการ เอไอเอ ประเทศไทย พร้อมด้วย นายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย และคณะผู้บริหารเอไอเอ ประเทศไทย ซึ่งงานจัดขึ้น ณ ห้องบันยัน บอลรูม โรงแรมบันยันทรี กรุงเทพ

 

 

 

นายนิคฮิค แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “งานในวันนี้ถือเป็นการต่อยอดพันธกิจของเอไอเอ ที่ต้องการสนับสนุนผู้คนกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ภายในปี 2573 ด้วยความมุ่งมั่นของเรานี้เอง จึงทำให้เราตั้งมั่นที่จะสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับทุกคนในสังคม ทั้งในด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิตใจ การวางแผนทางการเงิน รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยล่าสุดเราได้เปิดตัวแคมเปญ ‘Living to 100’ สนับสนุนให้คนไทยเริ่มต้นวางแผนสุขภาพและการเงิน เพื่อชีวิตที่ยืนยาวขึ้นในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อการบรรยายในวันนี้ เพราะชีวิตคนเราอาจมีอายุที่ยืนยาวเพิ่มขึ้นถึง 100 ปี ด้วยนวัตกรรมของยาและการแพทย์ อย่างไรก็ดี โรคบางชนิด เช่น มะเร็ง พาร์คินสัน หรือโรคสมองเสื่อมมีความสัมพันธ์กับอายุที่ยืนยาวขึ้น แนวทางการรักษาด้วย ยาเฉพาะบุคคล(Personalized Medicine) ซึ่งมีที่มาจากการศึกษาของศาสตราจารย์ ชีชาโนเวอร์ จึงนับได้ว่าเป็นแนวทางและความหวังใหม่ให้มะเร็งเป็นโรคที่รักษาได้ นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีตลอดอายุขัย

ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของการบรรยายโดย ศาสตราจารย์อารอนชีชาโนเวอร์นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเคมี ปี 2547 ได้อธิบายว่า “กระบวนการรักษาโรคต่าง ๆ กำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่สามารถปรับให้เหมาะสมตามข้อมูลระดับโมเลกุล และจีโนม หรือข้อมูลทางพันธุกรรม (DNA)ของผู้ป่วยได้ สืบเนื่องจากการศึกษาซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคคล้ายกัน เช่น โรคมะเร็งเต้านม มีการตอบสนองต่อยาและการรักษาที่แตกต่างกัน ทำให้เราเริ่มเข้าใจว่าพื้นฐานทางกลไกของโมเลกุลของสิ่งที่เราคิดว่าเป็นโรคเดียวกัน แท้ที่จริงแล้วมันมีความแตกต่างกัน ดังนั้นความพยายามควบคุมระบบยูบิควิติน เพื่อช่วยระงับการเกิดเนื้องอก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่มีส่วนในการช่วยรักษาโรคมะเร็งเพราะเซลล์มะเร็งมีความต้องการสารอาหารสูง เราจึงกำลังพัฒนายาเพื่อปรับแต่งระบบยูบิควิตินเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต เพื่อให้ระบบหยุดให้สารอาหารแก่เซลล์มะเร็ง"

ศาสตราจารย์อารอน ชีชาโนเวอร์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “ในศตวรรษที่ 21 วิธีใหม่ในการพัฒนายาเกิดขึ้นได้โดยการเรียงลำดับจีโนมแต่ละตัว และการพัฒนาเทคโนโลยีในการแก้ไขยีน ซึ่งนับว่าเป็นยุคใหม่ของการแพทย์ที่แม่นยำ โดยการรักษาโรคสามารถปรับให้เหมาะสมตามลักษณะระดับโมเลกุลและการกลายพันธุ์ของผู้ป่วย เช่น กรุ๊ปเลือดหรือพันธุกรรม ไม่ใช่แนวทาง "One Size Fits All" อีกต่อไป นอกจากนี้ การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างยาและวิธีที่ยาตอบสนองต่อเป้าหมายจะช่วยผลักดันการพัฒนายาใหม่ ๆ อย่าง “ยาเฉพาะบุคคล” (Personalized Medicine) รวมถึงทำนายโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งนี่เรียกได้ว่าเป็นอนาคตของการดูแลสุขภาพ และเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถมีอายุยืนยาวเพิ่มขึ้นจนถึงอายุ 100 ปี หรือมากกว่านั้น

 

สำหรับงาน AIA Nobel Laureates Luncheon Talk Series ในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของ AIA Total Health Solution โซลูชั่นด้านสุขภาพที่เอไอเอพร้อมสนับสนุนให้คนไทยได้เตรียมวางแผนสุขภาพเพื่ออนาคตที่มั่นคงอย่างยั่งยืน และหากคนไทยมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวไปถึง 100 ปี เอไอเอ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะอยู่เคียงข้างเพื่อช่วยคนไทยวางแผนทั้งในด้านสุขภาพและด้านการเงิน เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ในแบบที่ต้องการ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.aia.co.th/th/campaigns/living-to-100

Visitors: 14,182,087