BAM จัดงาน ESG DAY 2024 ย้ำจุดยืนองค์กรแห่งความยั่งยืน

BAM จัดงาน ESG DAY 2024 ย้ำจุดยืนองค์กรแห่งความยั่งยืนภายใต้ชื่องาน “พลังแห่งสิทธิมนุษยชน สู่ความยั่งยืน” (The Power of Rights)

 

บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำหลักการ ESG มาผสมผสานในการดำเนินธุรกิจอย่างครอบคลุม ในปีนี้ BAM ได้จัดงาน ESG DAY 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ภายใต้ชื่องาน พลังแห่งสิทธิมนุษยชน สู่ความยั่งยืน” (The Power of Rights)

 

นายบัณฑิต อนันตมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ เพื่อเป็นการตอกย้ำจุดยืนความสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่ง BAM ได้บูรณาการเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง อาทิ พนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่ค้า สังคมและชุมชน

 

ในการดำเนินงานของ BAM เราได้ตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม โดยเน้นการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม คำนึงถึงความเสมอภาคเท่าเทียม การไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสากลและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและสิทธิมนุษยชน ทั้งด้านการจ้างงาน การจ่ายค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม การจัดหาสวัสดิการที่เหมาะสม การเคารพความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา รวมทั้งการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนพิการ

โดยภายในงานได้จัดให้มีการออกบูธกิจกรรมถามตอบปัญหาด้าน ESG เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับพนักงานทั้งในรูปแบบ ออนไซต์ (onsite) และออนไลน์ (online) พร้อมทั้งมีการเสวนาให้ความรู้ ซึ่งได้รับเกียรติจากอาจารย์ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันศึกษาและพัฒนาการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (ส.พ.ส.) อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดร.วุฒิพันธุ์ ตวันเที่ยง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายพัฒนาสินทรัพย์ภูมิภาค และคุณธงชัย ชัยโลหกุลผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายกำกับดูแลกิจการและบริหารความเสี่ยง บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในมุมมองและภาพรวมของ BAM กับการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในองค์กร อาทิ การบูรณาการด้านสิทธิมนุษยชนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียด้วยความเสมอภาค (Equity) ความเท่าเทียม (Equality) และความเป็นธรรม (Fairness) การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน หรือ Human Rights Due Diligence (HRDD) ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจของบริษัท

 

 

ทั้งนี้ BAM ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดำเนินธุรกิจที่ให้การเคารพสิทธิมนุษยชน โดยคำนึงถึงหลักการชี้แนะขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGPs) ประกอบด้วย 3 เสาหลัก (3 Pillars)ได้แก่ เสาหลักที่ 1 การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect) รัฐมีหน้าที่คุ้มครองมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เสาหลักที่ 2 การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect) การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน และเสาหลักที่ 3 การเยียวยา (Remedy) การแก้ไข ฟื้นฟู ชดเชย เมื่อเกิดผลกระทบหรือมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ

โดย BAM ได้ปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินธุรกิจที่ยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษยชน อันก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์กับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างผลตอบแทน การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสีย การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี การสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านทรัพยากรบุคคลที่ส่งผลในทางบวกต่อการสรรหา จูงใจ และรักษาพนักงานต่อไป

 

 

 

 

Visitors: 14,186,062