SCG “The Possibilities for Inclusive Society - เติบโตไปด้วยกัน...กับโลกที่ยั่งยืน”
เอสซีจี เดินหน้าขับเคลื่อน Inclusive Society ส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมน่าอยู่ สิแวดล้อมยั่งยืนให้คนรุ่นถัดไป
โลกเปลี่ยนแปลง สังคมเปลี่ยนไป ธุรกิจต้องปรับตัวสำหรับเอสซีจี กว่า 111 ปี สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ อุดมการณ์ 4ไม่เพียงแค่การทำธุรกิจ แต่รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเอสซีจีมุ่งขับเคลื่อน Inclusive Society ร่วมกับพนักงาน เครือข่าย พันธมิตร และชุมชนสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมน่าอยู่ สิ่งแวดล้อมยั่งยืนให้คนรุ่นถัดไปโดยใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความเข้าใจปัญหา แก้ไขปัญหาอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
ป่าคือบ้าน น้ำคือชีวิต
เมื่อก่อนบริเวณรอบเขายายดาเป็นพื้นที่แห้งแล้ง เมื่อเข้าฤดูร้อน จะมีไฟป่ามาเยือน เมื่อเข้าฤดูฝน แม้ฝนจะตกเท่าไร แต่ผืนดินก็ไม่สามารถเก็บกักน้ำ ซ้ำยังกัดเซาะหน้าดินพังทลาย เพาะปลูกทำสวนไม่ได้ จึงคิดหาทางแก้ปัญหาไฟป่า ฟื้นป่าให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ไฟป่าไม่มี และยังเก็บน้ำไว้ใช้ทำเกษตรได้ตลอดทั้งปีจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพลังให้กำนันวันดีสู้ต่อ พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำกับเอสซีจี เคมิคอลส์ (เอสซีจีซี) ทำให้มีความรู้ในการสร้างฝายชะลอน้ำ ภายหลังจึงได้เข้าไปให้คำปรึกษาและความร่วมมือกับชุมชนรอบเขายายดาในการสร้างฝายชะลอน้ำ โดยเริ่มต้นเพียง 1-2 ชุมชนในปี 2550 ก่อนจะขยายเป็นเครือข่ายการสร้างฝายชะลอน้ำรอบเขายายดา จนชาวบ้านเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของป่าที่กลับมาเขียวชอุ่ม และไม่มีไฟป่าเกิดขึ้นในฤดูแล้ง ความอุดมสมบูรณ์กลับคืนมา จึงเริ่มขยายเครือข่ายความร่วมมือให้มากขึ้น ทั้งดูแลและซ่อมแซมสภาพฝายบนเขายายดาวันนี้ป่าเขายายดากลับมาคงความอุดมสมบูรณ์ ป่าคือบ้านที่เราต้องปกป้องรักษา เป็นแหล่งกำเนิดของสายน้ำ พืชพรรณ ธัญญาหาร ขณะที่น้ำคือชีวิต เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ทั้งน้ำกิน น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก ทำให้ชุมชนบ้านมาบจันทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กำนันวันดีเคยดูแลในฐานะผู้ใหญ่บ้าน ได้ประกอบสัมมาอาชีพด้วยวิถีพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีเอสซีจีซีเป็นเพื่อนและพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิด
วิกฤตเป็นแรงผลักดัน ส่งต่อสร้างอาชีพ
ความฝันที่อยากทำเนอร์สเซอรี่ดูแลเด็กเล็กเป็นของตนเองต้องหยุดลง เพื่อใช้เวลาทั้งหมดมาดูแลครอบครัว แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่ไม่ย่อท้อและความเชื่อมั่นในตนเอง บวกกับความสามารถด้านงานปักผ้า ดอกไม้ประดิษฐ์ จึงเป็นเครื่องมือสร้างโอกาสให้กับชีวิต ตระเวนขายงานฝีมือจนได้รับคำสั่งซื้อล็อตใหญ่จากต่างประเทศ กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ช่วยสร้างรายได้จากการทำงานปักผ้า เพื่อดูแลครอบครัวได้อย่างมั่นคง
ไม่เพียงเปลี่ยนแปลงชีวิตของตัวเอง ครูอ้อยังขยายความช่วยเหลือไปยังผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ว่างงาน และผู้หญิงที่ขาดโอกาสในการทำงานภายในชุมชน โดยสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสลุกขึ้นสู้และกำหนดชีวิตของตัวเองได้เช่นเดียวกับที่ครูอ้อทำมาแล้ว ปัจจุบันขยายศูนย์การผลิตงานหัตถกรรมไปแล้วกว่า 10 สาขา สร้างงานสร้างอาชีพให้คนในชุมชนกว่า 1,200 คน และสามารถสร้างรายได้รวมกว่า 4 ล้านบาทต่อปี
ขยะชุมชนเชื่อมคนสองวัย
ผู้ชักชวนเด็ก ๆ ในชุมชนสร้างพลังขับเคลื่อนสังคม ร่วมแก้ปัญหา ภายใต้ชื่อ “กลุ่มเยาวชนยิ้มแฉ่งให้ด้วยใจ” ผ่านการจัดการขยะอย่างถูกวิธี เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนและสร้างความร่วมมือภายในชุมชน เชื่อมเยาวชนและผู้สูงวัยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน พัฒนาชุมชนให้สะอาด น่าอยู่ พร้อมมุ่งสู่การเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำ
พี่หนูใช้เวลานอกราชการ ทุกวันเสาร์–อาทิตย์ ศึกษาปัญหาในพื้นที่ตำบลนาไม้ไผ่ 14 หมู่บ้าน 3,000 ครัวเรือน เริ่มต้นจากหมู่ 13 เพราะเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล พบว่าปัญหาสำคัญของชุมชนคือขยะ จึงกระตุ้นจิตสำนึกให้ชาวบ้านในพื้นที่เกิดความรักบ้านเกิด ช่วยกันดูแลชุมชน โดยเข้าไปทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยกับเด็ก ๆ เพื่อให้เด็ก ๆ เปิดใจ และชักชวนร่วมกลุ่ม เริ่มต้นจากเด็ก 15 คน ตั้งกลุ่ม “กลุ่มเยาวชนยิ้มแฉ่งให้ด้วยใจ” ปัจจุบันมีถึง 8 รุ่น ที่เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการขยะ
พี่หนูเชื่อมโยงคน 2 วัยในชุมชน โดยนำเด็ก ๆ ไปเยี่ยมเยียนผู้ที่มีความเป็นอยู่ลำบาก เพื่อปลูกฝังให้เด็ก ๆ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ร่วมกันทำความสะอาดและจัดการขยะ เพื่อสุขอนามัยที่ดีขึ้นของผู้สูงวัยและผู้พิการ ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชน
แพทย์ดิจิทัล ห่างแค่ไหน ก็ใกล้กัน
พยาบาลผู้มุ่งมั่นดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ดี มีสุขภาพที่แข็งแรง และสามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้อย่างเท่าเทียมกัน
ตลอดการทำงาน 30 ปี พี่เอ๋พบว่า ระบบให้บริการดูแลสุขภาพในสถานบริการของรัฐนั้น ผู้ป่วยมีจำนวนมาก ขณะที่แพทย์มีจำนวนน้อย ส่งผลต่อการให้บริการที่ต้องเร่งรีบ ด้านโรงพยาบาลท่าวุ้ง พบผู้ป่วย NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ถึงร้อยละ 60 ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งต้องนัดพบแพทย์เป็นประจำทุก 2-3 เดือน ส่งผลเรื่องความยากลำบากในการเดินทาง อีกทั้งขาดแคลนทุนทรัพย์สำหรับใช้จ่ายเพื่อการเดินทางพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
ปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลท่าวุ้ง ภายใต้การดูแลของนายแพทย์สันติ ลาภเบญจกุล หาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกับทีมงานเสมอมา จนกระทั่งเมื่อกลางปี 2566 ได้ร่วมเป็นพันธมิตรนำร่องโครงการ “แพทย์ดิจิทัล ดูแลผู้ป่วยทางไกล” กับเอสซีจี โดยใช้นวัตกรรม DoCare ระบบ Tele-monitoring และ Telemedicine ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาลกลาง แต่สามารถได้รับบริการที่ดีจากจุดให้บริการในชุมชน ช่วยลดเวลา ประหยัดค่าเดินทาง และเพิ่มการเข้าถึงการสาธารณสุขที่ดีภายในชุมชนของตนเอง แรกเริ่มใช้กับผู้ป่วย 350 คน ในตำบลบางคู้ ประสบความสำเร็จดี จึงตั้งเป้าขยายใช้กับผู้ป่วย 4,000 คน ครอบคลุม 11 ตำบล ของอำเภอท่าวุ้ง ภายในปี 2567
พี่เอ๋เป็นผู้ร่วมขับเคลื่อน “สุขภาพดี สู่ชุมชน” “ห่างแค่ไหน ก็ใกล้กัน”ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดี แพทย์มีเวลาดูแลผู้ป่วยต่อรายเพิ่มมากขึ้น และส่งต่อองค์ความรู้ แนวทางการนำเทคโนโลยีแพทย์ดิจิทัล ช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป